วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คำอุทาน

คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด มักจะเป็นคำที่ไม่มีความหมาย แต่เน้นความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูด เสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำอุทานนี้ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1.เป็นคำ เช่น โอ๊ย ว้าย แหม โถ เป็นต้น
2.เป็นวลี เช่น พุทโธ่เอ๋ย คุณพระช่วย ตายละว้า เป็นต้น
3.เป็นประโยค เช่น ไฟไหม้เจ้าข้า ป้าถูกรถชน เป็นต้น
คำอุทานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.อุทานบอกอาการ ใช้เปล่งเสียงเพื่อบอกอาการและความรู้สึกต่างๆของผู้พูด เช่น
- ร้องเรียก หรือบอกเพื่อให้รู้สึกตัว เช่น แน่น เฮ้ โว้ย เป็นต้น
- โกรธเคือง เช่น ชิชะ ดูดู๋ เป็นต้น
- ตกใจ เช่น ตายจริง ว้าย เป็นต้น
- สงสาร เช่น อนิจจา โถ เป็นต้น
- โล่งใจ เช่น เฮ้อ เฮอ เป็นต้น
- ขุ่นเคือง เช่น อุวะ แล้วกัน เป็นต้น
- ทักท้วง เช่น ฮ้า ไฮ้ เป็นต้น
- เยาะเย้ย เช่น หนอย ชะ เป็นต้น
- ประหม่า เช่น เอ้อ อ้า เป็นต้น
- ชักชวน เช่น นะ น่า เป็นต้น

2.อุทานเสริมบท คือ คำพูดเสริมขึ้นมาโดยไม่มีความหมาย อาจอยู่หน้าคำ หลังคำหรือแทรกกลางคำ เพื่อเน้นความหมายของคำที่จะพูดให้ชัดเจนขึ้น เช่น อาบน้ำอาบท่า ลืมหูลืมตา กินน้ำกินท่า ถ้าเนื้อความมีความหมายในทางเดียวกัน เช่น ไม่ดูไม่แล ร้องรำทำเพลง เราเรียกคำเหล่านี้ว่า คำซ้อน

ไม่มีความคิดเห็น: