วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่น ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ ให้มีความหมายชัดเจนขึ้นคำวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น 9 ชนิด ดังนี้
1.สักษณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะ ชนิด ขนาด สี เสียง กลิ่น รส อาการ
2.กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต เช้า สาย บ่าย ค่ำ
3.สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกสถานที่หรือระยะทาง ได้แก่คำว่า ใกล้ ไกล เหนือ ใต้ ขวา ซ้าย หน้า บน หลัง
4.ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนหรือปริมาณ ได้แก่คำว่า มาก น้อย หมด หนึ่ง สอง หลาย ทั้งหมด จุ
5.นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะแน่นอน ได้แก่คำว่า นี่ โน่น นั่น นี้ นั้น โน้น แน่ เอง ทั้งนี้ ทั้งนั้น อย่างนี้
6.อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ ไม่แน่นอน ได้แก่คำว่า อันใด อื่น ใด ไย ไหน อะไร เช่นไร
7.ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเนื้อความเป็นคำถามหรือความสงสัย ได้แก่คำว่า ใด อะไร ไหน ทำไม
8.ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงถึงการขานรับในการเจรจาโต้ตอบกัน ได้แก่คำว่า จ๋า ค่ะ ครับ ขอรับ ขา วะ จ๊ะ
9.ประติวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความปฏิเสธไม่ยอมรับ ได้แก่คำว่า ไม่ ไม่ได้ หามิได้ บ่
หน้าที่ของคำวิเศษณ์
1.ขยายคำนาม
2.ขยายคำสรรพนาม
3.ขยายคำกริยา
4.ขยายคำวิเศษณ์
5.เป็นคำอกรรมกริยา หรือกริยาที่ไม่ต้องการกรรมได้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: